วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550


1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ    


หมวดที่ ๑

บททั่วไป
                   มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
                   มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                   มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ  เสรีภาพ  และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
หมวดที่ ๒
พระมหากษัตริย์
                   มาตรา ๘  องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
                   มาตรา ๑๒  พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรีคณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
                 มาตรา ๒๓  ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ และให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา ๒๒ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ  ในการนี้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้  เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการรับทราบตามวรรคหนึ่งหรือให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
                   มาตรา ๒๗  สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง
ส่วนที่ ๒
ความเสมอภาค
                   มาตรา ๓๐  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
ส่วนที่ ๘
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
                   มาตรา ๔๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
หมวด ๔
หน้าที่ของชนชาวไทย
                   มาตรา ๗๐  บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้
                   มาตรา ๗๑  บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย

2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
     มาตรา30  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
      มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
     มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
     มาตรา ๘๐ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
                   (๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
                   (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการ สาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
                   (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยน แปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                   (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่า เทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
                    (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
                    (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก  การลงประชามติขอประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
- รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550        
ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง  ภริยา  และบุตรทุกคน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550 กำหนดให้องค์กรวุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
- การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ใช้อำนาจปกครองประกอบด้วยหลักสำคัญ คือ การรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจ และการกระจายอำนาจ
- ปัจจุบันประเทศไทยมีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง 20 กระทรวง
- ส่วนราชการใดทีไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง คือ ราชบัณฑิตยสถาน,สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
- การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
- เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
- รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ ใช้ปกป้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของเราจากการละเมิดสิทธิของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ หรือแม้แต่จากการกระทำโดยประชาชนคนอื่น ๆ ด้วยกันเองหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพจะช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิต ทำให้การดำรงชีวิตมีกฎระเบียบและขอบเขตที่ใช้ในการปฏิบัติตนในสังคม ดังนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะ ต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข


สาเหตุที่มีการคัดค้านรัฐธรรมนูญเนื่องจาก เพื่อล้มล้างอำนาจรัฐประหารให้หมดไปจากแผ่นดินไทย ซึ่งในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2550 เป็นการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่ง เป็นผู้สนับสนุน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านเนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อตนเอง และเป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญ ในฐานะของปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม ซึ่งรัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกในการลดทอนความขัดแย้งในสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ใช่ "ยาวิเศษ" ที่เมื่อร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้แล้วจะขจัดปัดเป่าความขัดแย้งใน สังคมไทยที่มีอยู่มานานให้หมดไปได้ในทันที หากแต่จะต้องไปพิจารณาและแก้ไขปัญหาทางด้านต่างๆ ประกอบด้วย เช่น การตรา หรือแก้ไขกฎหมายลูกฉบับอื่นๆ การปรับปรุงโครงสร้างทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น แต่เราก็มิอาจที่จะปฏิเสธได้ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมเลย ทั้งนี้ เห็นได้จากงานวิจัยจำนวนมากของต่างประเทศ หากพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงโดยตรงกับการกำหนดโครงสร้างของสังคมผ่านมิติทาง การเมืองการปกครองดังนั้น การออกแบบรัฐธรรมนูญ จึงมีความสำคัญยิ่ง

                   กล่าวคือ สังคมจะเป็นเช่นไร จะมีความขัดแย้งมากหรือน้อยเท่าใด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวางโครงสร้างของสังคมผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญ และสังคมไทยคือการที่คนจำนวนมากมาอยู่ร่วมกัน กติกาใดเสียงส่วนใหญ่ต้องยอมรับ เพราะในเมื่อเสียงส่วนใหญ่ต่อสู้ ชัยชนะของเสียงส่วนใหญ่ก็ย่อมเป็นที่คาดเสมอว่าในที่สุดแล้วเสียงส่วนใหญ่จะชนะ


6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว  

               การปกครองประเทศ อำนาจทั้ง 3อำนาจ จะต้องมีความสมดุลกันซึ่งกันและกัน แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ ก็เกิดปัญหามากมายที่ส่งผลกระทบในการปกครองประเทศจนทำให้ในบางครั้งก็เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง ส่งผลไปสู่ภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน และเนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา   ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลจึงเป็นไป ตามหลักการ ของประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งมองเห็นว่าอำนาจทั้ง 3  ยังคงมีความมั่นคงที่จะรักษาเสถียรภาพต่อบ้านเมืองให้ดำรงอยู่อย่างสงบสุข และทำหน้าที่ได้ดีด้วย เพราะปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองยังคงต้องอาศัยอำนาจเหล่านี้เพื่อเป็นหลักสำคัญในดำรงอยู่ของความมั่นคงของประเทศ ทั้งเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ที่สงบสุขของประชาชน อยากให้ทั้ง 3 สภาตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อนึกถึงประโยชน์และความสุขส่วนรวมให้มากที่สุด




 

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การแนะนำตนเอง

          
          


         
         


         
          นางสาวสรินทร์ญา ฤทธิรัตน์ เกิดวันที่่ 13 มีนาคม 2533 อายุ 22 ปี ดิฉันจบการศึกษาจากโรงเรียนทุ่งสง ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระดับปริญญาตรี ปี4 คณะครุศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ  นิสัยส่วนตัวของดิฉัน  เป็นคนร่าเริง สนุกสนาน มีความเป็นกันเองกับทุกคน

           คติประจำใจ คือ รากฐานของบ้านคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา

กิจกรรมที่ 1



ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

คำนิยามเกี่ยวกับกฏหมายการศึกษา  
        

ปรัชญา (Philosophy): นิยามว่า ระบบความเชื่อที่เป็นผลจากการแสวงหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและการแสวงหาความหมายของชีวิตและสรรพสิ่งต่างๆ                                                                                           

มาตรฐานการศึกษา (Education Standards): นิยามว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในสถานศึกษาทุกแห่งเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา                                                                                                                   

นโยบาย นิยามว่า  แนวทางหรือกรอบที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือปฎิบัติให้บรรลุเป้า หมายตามต้องการ                                                                                                                                                                                                     
ปณิธาน (Will):  นิยามว่า ความตั้งใจหรือความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตนเองให้คุณค่าและมีความเชื่อซึ่งก่อให้เกิดพลังจิต ที่จะกำหนดความคิดและการกระทำของตนเอง                                                                                                                                               
             
พระราชกฤษฎีกา นิยามว่า เป็นกฎหมายลูกบทกล่าวคือมิได้เป็นกฎหมายแม่บทเป็นกฎหมายที่ออกมาภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญติและพระราชกำหนด เช่นพระราชกฤษฎีกายุบสภา,พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งเป็นต้นที่ออกภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ                                                                                                                                     
           
ศาลยุติธรรม นิยามว่า คือศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมการละเมิดสิทธิร่างกาย ทรัพย์สินเช่นศาลอาญา,ศาลแพ่ง                                                                                                                                                                                   
            
คดีแพ่ง นิยามว่า คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน                                                                                                                                                                                
            
ภาษีอากร นิยามว่า เงินรายได้ที่รัฐจัดเก็บจากผู้ที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด                                    
           
 คดีอาญา นิยามว่า เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกายทรัพย์สิน                                                   
           
 วินาศภัย นิยามว่า ความเสียหายอย่างใด  บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ 
           
 การศึกษาในระบบ คำนิยาม เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาการศึกษา การวัด และการประเมินผลอันเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอนได้แก่ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆทั้งของรัฐและเอกชน
          

การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิีธีการจัดการศึกาา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและปรเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
          

การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยอาศัยจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาแวดล้อมสื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่าง  การอบรมวิชาชีพในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การอบรมภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่าง  เป็นต้น
         

การศึกษา คำนิยาม การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยกระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ การฝึก การอบรม การสืบสารวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรุ้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุุคคลเรียนรู้ตลอกชีวิต
         

การศึกษาขั้นพื้นฐาน คำนิยาม การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
        

 การศึกษาตลอดชีวิต คำนิยาม การศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
        

 สถานศึกษา คำนิยาม สถานพัฒนาเด็กประถมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน สถาบัน วิทยาลัยมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาอื่น หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
        

 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คำนิยาม สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         

ผู้สอน คำนิยาม ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาต่างๆ
         

ครู คำนิยาม บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
         

บุคลากรทางการศึกษา คำนิยาม ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ                                                                                                                                                                         
อ้างอิง
                กลุ่มสตรีเพื่อสันติภาพ.(2550). คำศัพท์ทางกฎหมาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttps://sites.google.com/site/wepeaceyala/kha-saphth-thang-kdhma[ 10 พฤศจิกายน 2555]
               Jan SAN.(2551). คำศัพท์ที่เป็นประโยชน์ทางกฎหมาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://blog.eduzones.com/cazii/82767.[ 10 พฤศจิกายน 2555]
               
กฎหมายไทย.(2549). คำศัพท์ที่เป็นประโยชน์ทางกฎหมาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://www.thailaws.com/[ 10 พฤศจิกายน 2555] 
               ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงามหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม .1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.